วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 1

วารสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ วารสารทางวิชาการที่ผลิตและเผยแพร่สู่ ผู้ใช้โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวารสารที่ห้องสมุดบอกรับโดยเสียค่าบริการเพื่อให้ผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารนิเทศได้รวดเร็วในเวลาเดียวกันหลายคน โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ สามารถจัดหาได้เมื่อต้องการ ( Acquisition on Demand) และมีบริการจัดส่งบทความ (Document Delivery) เมื่อมีผู้ต้องการสั่งซื้อทาง E - mail หรือ Fax หรืออื่นๆได้ตามต้องการ วารสาอิเล็กทรอนิกส์เป็นพัฒนาการของวารสารที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
ข้อดี
1. ผู้ใช้สามารถติดตามอ่านวารสารได้อย่างรวดเร็ว ทันทีที่วารสารมีการจัดพิมพ์ เนื่องจาก
สำนักพิมพ์จัดพิมพ์แบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เผยแพร่สู่ผู้อ่านได้อย่างรวดเร็ว
2. ผู้อ่านสามารถเข้าถึงวารสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่จำกัดเวลา โอกาส และ
สถานที่
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเย็บเล่มวารสาร การเสียแรงงานบุคลากรในการเตรียมวารสาร
ก่อนส่งเย็บเล่มและหลังการเย็บเล่ม
4. ช่วยแก้ปัญหาการได้รับวารสารไม่ครบ วารสารถูกฉีกขาด
5. ช่วยแก้ปัญหาสถานที่เก็บ ไม่มีปัญหาการเพิ่มน้ำหนักพื้นที่ของห้องสมุด

ข้อจำกัด
1. ค่าใช้จ่ายในการบอกรับ แต่ละสำนักพิมพ์จะกำหนดค่าบอกรับแตกต่างกัน เช่น บาง
สำนักพิมพ์เมื่อบอกรับวารสารฉบับพิมพ์จะให้สิทธิ์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ บางสำนักพิมพ์แยกราคากันระหว่างฉบับพิมพ์กับวารสารอิเล็กทรอนิกส์
2. ลิขสิทธิ์ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ชัดเจนเช่นกฎหมายลิขสิทธิ์ของสิ่งพิมพ์
3. วารสารย้อนหลัง การจัดเก็บวารสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับย้อนหลังยังไม่มีรูปแบบที่
ชัดเจน ห้องสมุดที่บอกรับหารูปแบบ วิธีการจัดเก็บเอง หรือบริษัทเป็นผู้จัดทำ
4. การเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส็ ปัญหาสำคัญประการหนึ่งก็คือ ความล่าช้าของเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์และผู้ใช้ขาดความเข้าใจในวิธีการสืบค้นข้อมูล ตลอดจนปัญหาของข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
King (1991 : 5-6) กล่าวว่า ประมาณปี 2006 จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมากในการสืบค้น
ข้อมูล ตลอดจนการนำส่งข้อมูลเข้าห้องสมุด ในขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงมีใช้อยู่ แต่จะมีบทบาทที่แตกต่างไป โดยความคิดนี้ตรงกับความเห็นของ McKnight (1993 : 9) และ Piternick (1989 b : 96) ที่กล่าวว่า วารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์จะมีการใช้ต่อไป ในขณะที่การใช้วารสารอิเล็กทรอนิคส์จะเป็นเสมือนเส้นขนานมากกว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่ นักวิชาการและนักวิจัยจะใช้เวลาเล็กน้อยในห้องสมุด เพราะสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากคอมพิวเตอร์ หรือจาก Workstation จากที่ห่างไกลได้


วราภรณ์ แดงช่วง. รูปแบบของวารสาร คุณค่าที่ต้องทบทวน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12235.html. 2553.

1 ความคิดเห็น: