วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

งานE-Jourmal

วารสารบ้านดินน.ส.สไบทิพย์ โนนสังข์

3 ความคิดเห็น:

  1. ในระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ กำลังผลิตที่ลดหายไปย่อมมีผลกระทบต่อระบบจำหน่ายเป็นอันมาก โดยเฉพาะระบบจำหน่ายที่ไม่มั่นคง เช่น ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จึงต้องใช้แบตเตอรี่ช่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่เกิดปัญหาดังกล่าว โดยออกแบบขนาดคลังแบตเตอรี่ให้สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้นานไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน
    ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นี้ จะผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบจำหน่ายเฉพาะในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ทำให้สามารถลดการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่สะงา (เก็บน้ำในอ่าง) ในเวลากลางวันลงได้ เพื่อนำน้ำไปใช้ผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงกว่า และจะช่วยลดการผลิตไฟฟ้า ที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลลงได้มาก
    (มันมีรูปดวยเด้อต่อลงไปข้างล่าง เอารูปจากตรงชื่อคนส่ง:อั๋น)

    ตอบลบ
  2. การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งความพยายามของ กฟผ. เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และจากการติดตั้งทดสอบการใช้งานรวมทั้งเก็บข้อมูลของระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนัก ที่สถานีพลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง ทำให้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแบบที่ติดตั้งคงที่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์

    ตอบลบ
  3. 2.2.2 ส่วนประกอบของระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนัก
    หลักการทำงาน
    ระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนัก ใช้หลักการถ่วงน้ำหนักโดยใช้น้ำเป็นตัวกลางในการถ่วงน้ำหนัก ตอนเช้า ท่อน้ำถ่วงน้ำหนักที่ติดตั้งไว้ทางทิศตะวันออกจะมีน้ำอยู่ ทำให้โครงสร้างรองรับแผงและแผงเซลล์แสงอาทิตย์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก (เป็นการเพิ่มน้ำหนักด้วยน้ำ) ชุดเซนเซอร์
    ที่ติดตั้งและหันหน้าทางเดียวกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จะทำหน้าที่เป็นตัวตรวจจับตำแหน่งดวงอาทิตย์ เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับตำแหน่งดวงอาทิตย์ได้ จะส่งให้ระบบควบคุมประมวลผลและสั่งให้โซลินอยต์วาล์ว (Solenoid Valve) ปล่อยน้ำออกจากท่อน้ำถ่วงน้ำหนัก เป็นการลดน้ำหนักน้ำในท่อน้ำถ่วงน้ำหนัก ทำให้โครงสร้างรองรับแผงและแผงเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตก (ตอนเช้า-ตอนเย็น) ตอนกลางคืน ปั๊มน้ำจะทำหน้าที่เติมน้ำเข้าชุดท่อน้ำถ่วงน้ำหนัก เป็นการเพิ่มน้ำหนักด้วยน้ำทางด้านทิศตะวันออก ทำให้โครงสร้างรองรับแผงและแผงเซลล์แสงอาทิตย์เคลื่อนที่กลับไปทางทิศตะวันออก เพื่อเตรียมรับแสงอาทิตย์ตอนเช้าวันต่อไป

    ตอบลบ